วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน 
แท็บแล็ตเพื่อการศึกษกลายเป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบันในยุคสังคมสารสนเทศและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง  ซึ่งแนวนโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้นที่จะใช้สื่อแท็บแล็ตให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ตามศักยภาพและความพร้อมที่มีอยู่ โดยที่นโยบายของการปฏิบัติของนักเรียนช่วงแรกตามโครงการ One Tablet PC Per  Child จะมุ่งเน้นไปที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวนประมาณ539,466 คน เป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่องที่สำคัญของการนำสื่อแท็บแล็ตสู่การพัฒนาการเรียนรู้ในครั้งนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บแล็ต  
แท็บแล็ต พีซี -คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรกออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง"ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัวMicrosoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บแล็ตพีซี ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) " แท็บแล็ตพีซี ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
แท็บแล็ตคอมพิวเตอร์  หรือเรียกสั้นๆว่าแท็บแล็ต Tablet" คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอ สัมผัสในการทำงาเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ  ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุน หรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น " แท็บแล็ตคอมพิวเตอร์ เครื่องแรก
แหล่งข้อมูลจาก

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไ 
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งได้ลงนามกันที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
เมื่อแรกก่อตั้งในปี 2510 อาเซียนมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในเวลาต่อมา บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527 เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว
AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆดังนี้
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)
การเตรียมตัวเป็นครูเพื่อไปสู่อาเซีย
ครูต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางในการสื่อสารในภูมิภาคอาเซียน ครูจะต้องปลูกฝังและส่งเสริมให้เด็กมีทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนทางบวก และส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน
การเตรียมตัวเป็นนักเรียนเพื่อไปสู่อาเซียน
ความพร้อมเรื่องภาษา  และเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน เข้าใจในศักดิ์ศรีความมีคุณค่า และการเปิดใจยอมรับความแตกต่าง ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะสำคัญในการเตรียมตัวเป็นพลเมืองอาเซียนที่ดีและมีคุณภาพ หากไม่ได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่ตอนนี้ อาจทำให้เกิดปัญหาต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอาเซียนได้


http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=45&id=18905


3. อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
        การที่จะเป็นครูให้เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ปกครอง หรือเพื่อนครูด้วยกันนั้น ครูนั้นจะต้องเป็นคนที่มีความสามารถ  มีความรอบรู้ในด้านศาสตร์นั้น  ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจ  สร้างแรงศรัทธาให้นักเรียนเกิดความรักในการที่จะเรียน สร้างความไว้วางใจต่อนักเรียน ยอมรับฟังในเหตุและผลของนักเรียน เข้าใจและเอาใจใส่  มีความยุติธรรมในทุกๆ ด้าน  และการที่จะทำให้นักเรียนเป็นคนเก่งเป็นที่รักของทุกๆ คน  คนเป็นครูจะต้องสอนให้เด็กนักเรียนรู้จักแสดงออกซึ่งการเป็นผู้นำ  ท้าท้ายให้เด็กได้ใช้ความคิดเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน


4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร พิจารณาว่า  ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้อง
ในการเรียนรู้โดยใช้บล็อกฉันมีวิธีการเรียนรู้โดยการที่ เริ่มแรกศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนก่อน เมื่อเริ่มที่จะรู้ว่าการทำบล็อกทำอย่างไร ก็ลงมือทำและฝึกทำไปเรื่อยๆจนเกิดการเรียนรู้   ถ้าหากจะเรียนรู้โดนใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอการที่จะเรียนรู้ก็จะมากขึ้นเพราะเทคโนโลยียังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และความรู้ที่เราใส่ลงไปในบล็อกก็ยังคงอยู่ เมื่อถึงเวลาที่เราอยากทราบเราก็สามารถกลับมาดูได้อีก  
ความคิดเห็นในการเรียนวิชาบล็อก วิชานี้ผมคิดว่าเป็นวิชาที่มีความทันสมัยเหมาะแก่การพัฒนาคุณภาพของตัวบุคคล เป็นรายวิชาที่นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาไปในทางที่ดี การพัฒนาในการใช้บล็อกในการศึกษาเราควรที่จะส่งเสริมเพื่อให้เป็นแกนสำคัญในการเผ่ยแพร่ความรู้
สำหรับคะแนนที่จะให้กับวิชานี้ข้าพเจ้าคิดว่ารายวิชานี้ที่ใช้บล็อกเป็นตัวกลางที่ให้ความรู้นี้ คะแนนสมควรที่จะได้เต็มทั่งในแง่ความทันสมัย ความประหยัด ลดภาวะลดร้อนโดยไม่ต้องใช้กระดาษในการเรียนเลย
สำหรับเกรดที่ต้องการข้าพเจ้าต้องการเกรด A ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยูกับผลงานที่เราทำลงไปด้วยคับ



วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าสนใจ
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
       บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
           การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

กิจกรรมที่ 8


ครูมืออาชีพรุ่นใหม่
การจะเป็นครูมื่ออาชีพนั้นประกอบด้วยสิ่งหลายๆอย่าง
      1.  อยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และเอื้อต่อการเรียนรู้ 
      2.  ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าคิด กล้าถาม 
      3.  อย่าทำให้ห้องเรียน หรือโรงเรียนเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัว กดดัน 
      4.  แต่จะต้องไม่มีการปล่อยปะละเลยเรื่องกฎระเบียบต่างๆ 
      5.  ครูยังคงต้องรักษามาตรฐานต่างๆ ไว้ด้วย  
      6.  นักเรียนควรที่จะถูกฝึกให้สามารถประเมินความสามารถ และผลงานของตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่ลำเอียง คือ มีความรู้จักตนเอง
      7.  ครู โรงเรียน ครอบครัว และชุมชนควรมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 
      8.  เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติแล้ว การต่อยอดความคิดจะง่ายขึ้น 
      9.  ครูมืออาชีพต้องมีความสามารถในการขาย คือ  สามารถชี้แนะให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการเรียนในวิชาดังกล่าวได้  หลักสำคัญในการขายคือ การชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในชีวิตประจำวันที่นักเรียนจะได้รับจากการเรียน  นอกจากนั้น ครูควรที่จะให้ความสำคัญกับหลักสูตรที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์จริง เน้นถึงวิธีการประยุกต์ความรู้

      ครูมืออาชีพ" เป็นความคาดหมายของการปฏิรูปการศึกษาของชาติในครั้งนี้อย่างยิ่ง การเป็น
มืออาชีพของครู จะทำให้การปฏิรูปการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็น มนุษย์ที่
สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ
ดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ 
หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจ
ในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ 
วัฒนธรรมของชาติ การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล
ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ 
รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น
ผลงานอันน่าภาคภูมิใจของ "ครูมืออาชีพ" โดยแท้





กิจกรรมที่ 7


1.สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
เรื่อง เรารักประชาธิปไตย

ชื่ออาจารย์  อ.สมคิด บุญมา รร.ท่าเกษมพิทยา
ระดับชั้น  ชั้นมัธยมศึกษา

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
    การใช้เนื่อหาโดยการฝึกฝน การใช้ประชาธิปไตยโดยการฝึกฝนเป็นเนื่อหาที่เกี่ยวกับกับการรู้จักการใช้เการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนเพื่อสร้างรากฐานให้กับนักเรียนที่ดี ให้นักเรียนกล้าคิดกล้าแสดงออก โดยที่นักเรียนมีความมั่นใจในตนเอง และโตขึ้นนักเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นผู้ตามที่ดีอีกด้วย

3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
   การจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภานักเรียน การยึดธรรมนูญโรงเรียนเป็นหลักในการปฏิบัติ เป็นต้นทำให้นักเรียนรู้จักการเคารพสิทธิ และหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งถือว่าการวางรากฐานประชาธิปไตยในโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญในการปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยในอนาคตต่อไป การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การเลือกชมรมที่ตนเองชอบ จะทำให้ตัวนักเรียนเกิดความสนุกสนาน มีความกล้าแสดงออก

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
บรรยากาศโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการลงมือปติบัติเป็นส่วนมาก การลงมือทำเองนั้นจะเป้นปัจจัยที่ดีใน การพัตนาตัวเด็กให้เกิดความรู้โดยลึกซึ่ง ห้องเรียนนั้นจะจัดให้เป็นเหมือนกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุดเพื่อที่จะพัตนาการคิดในรูปแบบในกิจกรรมต่างๆๆ





กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงเป็นครูของแผนดิน เพราะท่านทรงสอนประชาชนของท่านในทุกๆเรื่อง ดังตัวอย่างโครงการมากมายที่ท่านได้ทรงคิดขึ้นมานอกจากท่านจะคิดแล้วท่านยังทำให้ดูอีกด้วย ทรงทำให้เห็นว่าการเป็นครูนอกจากการเรียนการสอนนอกชั้นเรียนแล้ว การทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง การให้นักเรียนได้เห็นเนื้อหาของวิชาที่แท้จริง โดยการทำให้ดูรวมถึงการฝึกให้นักเรียนคิดด้วยตนเองคิดได้คิดเป็น นอกจากนี้การเป็นครูที่ดีจะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย รวมถึงเปิดใจกว้างยอมรับความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความรู้ก้าวหน้า ทันกับสภาพแวดล้อมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในความพอดีพอเพียงด้วย

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
          ในการเรียนการสอนนอกจากจะสอนแต่วิชาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนแล้ว เราต้องฝึกให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ต้องสอนนักเรียนให้ครบทุกๆด้าน ทั้งเนื้อหาในวิชาที่เรียน เนื้อหาในชีวิตทักษะการใช้ชีวิต เป็นตัวอย่างที่ดีให้นักเรียน ทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง เช่น การสอนในเรื่องการวัดการตวง เราก็ต้องให้นักเรียนได้ลองปฏิบัติได้ด้วยตนเอง นำสิ่งที่ได้ไปใช่ในการเดินเนินชีวิตการประกอบอาชีพได้
   
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร 
       ในการออกแบบการเรียนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดนี้ ครูผู้สอนจะต้องออกแบบการสอนที่สามารถเชื่อมโยงได้ทุกๆด้าน สามารถนำวิชาคณิตศาสตร์ไปประยุกต์เชื่อมโยงในการใช้ชีวิตได้ ตัวอย่าง เช่น  การเรียนเรื่องอัตราส่วน ก็ต้องให้นักเรียนประยุกต์ใช้ได้จริง มีการตั้งคำถาม ว่าที่บ้านนักเรียนมีพื้นที่เท่าไร มีการปลูกอะไรบ้าง แต่ละอย่างปลูกเป็นกี่ส่วนของพื้นที่ทั้งหมดและเพียงพอต่อความต้องการของคนในครอบครัวหรือไม ถ้าไม่ควรปลูกอะไรเพิ่ม เพิ่มหรือลดอะไร เป็นกี่ส่วน เรื่องต้องออกแบบพื้นที่ใหม่เป็นกี่ส่วนอย่างไรให้มีความพอดี และเป็นการใช้พื้นที่อย่างคุ่มค่าที่สุด



วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์  THE STEVE JOBS WAYโดย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
 สตีฟ จ๊อบส์ คือ คนที่การศึกษาอย่างเป็นทางการไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจ กว่าที่เขาจะประสบความสำเร็จเป็นสุดยอดอย่างนี้ก็ไม่ใช้เรื่องง่าย เขาต้องฝ่าฟันอุปสรรค และชะตาชีวิตของตัวเองอย่างมากมาย เขาไม่ใช่มนุษย์ต่างดาว และสิ่งที่เขาสร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์   แต่มาจากมันสมองอัญชาญฉลาดและสองมือของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา”    จนทำให้เขากลายเป็นคนที่ มีความฉลาด ฉลาดในการวางแผน ฉลากในการเลือกเพื่อนร่วมงาน เขาสามารถคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่  เขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ พลิกโลกให้เปลี่ยนไป ดังที่รู้ว่า เขาและทีมงานเป็นผู้ผลิต ipad  iphone   ipoadและอื่นๆอีกมากมาย  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
               เมื่อผมเป็นครูผู้สอนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยการให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลัก   มีการวางการสอนล่วงหน้า   จะนำความรู้ที่มีทั้งหมดนำไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์โดยที่จะไม่หวงวิชาไม่หวังสิ่งตอบแทนจะเป็นที่ให้คำปรึกษาเวลานักเรียนมีปัญหาต่างๆทั้งในชั้นเรียนและนอกห้อง

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
         ในอนาคตกระผมจะได้เป็นครูผู้สอน และดิฉันก็สามารถที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจอย่างแท้จริง  ในฐานะที่เป็นผู้สอนต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำผู้เรียนไปด้วย ครูต้องสอนให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากผู้สอนโดยการให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ จากกิจกรรมที่ครูจัดให้ ไม่ใช่ครูบอกความรู้ หรือครูบอกความเข้าใจของครูให้กับผู้เรียน จากนั้น ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ได้รับเป็นองค์ความรู้เป็นความเข้าใจของตนเอง เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียนได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในสถานการณ์ ใหม่ ที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นสภาพจริง สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันในปัจจุบันและในอนาคต


กิจกรรมที่ 6


กิจกรรมที่ 5

ครูกิตติพันธ์   อุดมเศรษฐ์   Kittipun   Udomseth  
เกิด วันพุธ ที่  17  เมษายน  พ.ศ. 2506
ที่อยู่ปัจจุบัน  234 / 214 ถนนมหิดล   ตำบลหนองหอย   อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่  50000   โทรศัพท์  0-5380-1092, 0-5327-6846,  0-1386-2465
คู่สมรส  นางรุจิรา   อุดมเศรษฐ์    อายุ 43   ปี อาชีพ แม่บ้าน   มีบุตร  2   คน
1. นางสาวนิศานารถ   อุดมเศรษฐ์  รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. เด็กหญิงนริศรา    อุดมเศรษฐ์  เรียนอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย  เชียงใหม่
ที่ทำงาน  โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่
          สังกัด สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
อายุการทำงาน       21   ปี  ( ปีการศึกษา  2529 - ปัจจุบัน )
ประวัติการศึกษา
-ประถมศึกษา          โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่      2517
-มัธยมศึกษาตอนปลาย   ม.ศ. 5 (วิทยาศาสตร์)โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน   2522
-อนุปริญญา              ปกศ.สูง (ศิลปศึกษา)          วิทยาลัยครูเชียงใหม่       2526
-ปริญญาตรี              ค.บ. (ศิลปศึกษา)              วิทยาลัยครูเชียงใหม่      2528
-ปริญญาโท              ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  2546
ประวัติการทำงาน
-Graphic  Designer   บ.กราฟิค  ซัพพลายส์  จำกัด     กทม.   2526
-สอนโรงเรียนเพาะช่างเชียงใหม่   ปีการศึกษา   2526
-สอนโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย   เชียงใหม่  แผนกมัธยมศึกษา ตั้งแต่ ปีการศึกษา  2529 – ปัจจุบัน

ผลงาน
-การศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
-การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์แบบ PDCM
-การบูรณาการองค์ความรู้ด้วยการทำโครงงานศิลปะ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
-การพัฒนาหลักสูตรทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้
ครูกิตติพันธ์   อุดมเศรษฐ์ เป็นครูที่มีความสามารถเป็นอย่างมากการที่จะเอามาเป็นแบบอย่างนั้นเราสามารถนำเอามาประยุกต์ใช้ใด้ การที่ท่านเป็นคนที่มีความสามารถดูได้จากประสบการการทำงานของท่าน