วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4


 1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร  
     คนเราอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคม ย่อมต้องมีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันนั่นคือ การอยู่ร่วมกันแบบต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเอง โดยที่มีความสอดคล้องกัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาติดขัดในการทำงาน ดังนั้นจึงเรียกการทำงานแบบนี้ว่าการทำงานที่เป็น "ทีม" 
      คำว่าทำงานเป็นทีม มิได้หมายถึงการทำงานที่ไม่มีความขัดแย้งกันเลย อาจจะมีบ้าง แต่ก็มีการปรึกษาแก้ปัญหาต่อกัน โดยที่เมื่อสรุปตัดสินปัญหานั้นหมดไปแล้วก็จะจบลงบนโต๊ะตรงนั้น จะไม่นำมาต่อกันข้างนอกอีก เพราะถือว่าทุกคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกันหมด ถึงแม้ว่าตัวเราเองจะไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่ถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วยแล้วก็แสดงว่า ทุกคนได้มองภาพตรงนั้นเป็นมุมเดียวกันหมดแล้ว

2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร  ยกตัวอย่างประกอบ
        การทำงานเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องเลือกบุคคลให้แสดงบทบาทต่าง ๆโดยคำนึงถึงทักษะ ความถนัด หรือความชอบของบุคคลนั้นด้วย หัวหน้าทีมต้องรู้จักและเข้าใจลักษณะของสมาชิกแต่ละคนในทีม และควรมอบหมายงานให้สมาชิกแต่ละคนให้ตรงกับความชอบและความสามารถของแต่ละคน หากเป็นดังนี้แล้วสมาชิกในทีมก็จะร่วมมือกันทำงานในทีมได้เป็นอย่างดี
 เช่น การสร้างบ้าน จะเห็นได้ว่า การสร้างบ้านหรือตึกแต่ละหลังนั้น จะต้องใช้แรงงานจำนวนมาก โดยจะมีผู้ควบคุมการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยจะอาศัยความถนัดความสามารถของคนหรือสมาชิกแต่ละคนในการออกแบบ หรือสร้างให้ได้มาตรฐานที่วางไว้ หากใครคนหนึ่งไม่เคารพหรือทำงานที่ตนไม่ถนัดผลงานก็อาจจะออกมาไม่ได้ตามมาตรฐานที่วางไว้


วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3


1. การจัดการเรียนการสอน  จัดชั้นเรียน  เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร  
แนวคิดก่อนยุคศตวรรษที่ 21
เป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตส่วนใหญ่การศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียน โดยครูมีครูจะเป็นผู้ถ่ายถอดองค์ความรู้ให้กับนักเรียนโดยส่วนใหญ่แล้วครูจะเป็นองค์ประกอบสำคัญ นักเรียจะไม่ค่อนรู้จักสืบค้น คันคว้า ความรู้ด้วยตนเอง โรงเรียนจะเป็นสถานที่หนึ่งในการกล่อมเกลาให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม นักเรียนจะได้ความรู้ก็ขึ้นอยูกับโรงเรียนครู 

 แนวคิดในคศตวรรษที่ 21
 เป็นการเรียนรรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนที่นักเรียน นักศึกษาจะต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ประกอบกับความล่ำสมัยเกี่ยงกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ความเจริญทาวด้านสังคม  ผู้เรียนมีโอกาสในการเลือกหลักสูตรที่หลากหลาย มีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ครูจะเป็นตัวแทนของการเรียนรู้และมีระบบการประเมินที่หลากหลายการสอนที่จัดว่ามีประสิทธิภาพ  ต้องการครูที่มีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (learning coach) และ เป็นตัวแทนในการนำผู้เรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้  (learning travel agent)     
2. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
ในยุคข้างหน้าการเตรียมตัว ในการจัดการเรียนการสอนมีความสำคัญและจะต้องรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง ตลอดกับการก้าวทันกับสถาณการณ์ในยุคนั้นๆการรู้จักการใช้เครื่องมือในยุคข้างหน้า การเพิ่มขึ้นของข่าวสารต่างๆนาๆ ครูผู้สอนจึงต้องมีประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ ใช้เครื่องมือต่าง ๆได้ มีทักษะการค้นหาความรู้ด้วย เทคโนโลยีได้ตลอดเวลา 

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

ทฤษฎีของมาสโลว์ 
มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น ระดับด้วยกัน ได้แก่ 
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต     ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า 
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง คิอ ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ บุคคลที่มีความต้องการประเภทนี้จะเป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเอง 
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment) รู้จักค่านิยม 
มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้

       สรุปได้ว่า  มนุษย์จะมีความต้องการอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความปลอดภัย ชื่อเสียง ความต้องการของมนูษย์จะเป็นไปตามลำดับขันตอน



ทฤษฎี Douglas Mc Gregor
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน


William Ouchi : ทฤษฎี Z
เป็นทฤษฎีการคิดนอกครอบ หรือกลุ่มทฤษฎีร่วมสมัยเป็นทฤษฎีที่ว่าการจูงใจคนนั้นจะต้องเป็นไปตามสถานการณ์ 


Henri Fayol
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ ประกอบด้วย 5 อย่างด้วยกัน
1. การวางแผน(Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)



 อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)


  อังริ ฟาโยล  ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ (Fayol's Fourteen Principles of  Management) ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
 1. การจัดแบ่งงาน (division of wo
 2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority)
 3. ความมีวินัย (discipline)
 4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command)
 5. เอกภาพในทิศทาง (unity of direction)
 6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
 7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม (remuneration)
 8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization)
 9. สายบังคับบัญชา (scalar chain)
 10. ความเป็นระบบระเบียบ (order)
 11. ความเท่าเทียมกัน (equity)
 12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร (stability of tenure of personnel)
 13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative)
 14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ (esprit de corps)

Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic Management)
 1. องค์การ
 2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy)
 3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection)
 4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations)
 5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality)
 6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ (Career Orientation) 

Frederick Herzberg
 เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึง      
 พอใจจากการทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย ปัจจัย คือ
 1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
 2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors

                                                                  การบริหารการศึกษา
บทที่ 1 มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา 
      การบริหารการศึกษา หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ  ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ  เพื่อพัฒนาสังคมในทุกๆด้าน และการบริหารการศึกษา หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน


บทที่  2 วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
     วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ  การบริหารงานของรัฐหมายถึง  การบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน  ซึ่งเกี่ยวพันกับกฎหมายต่างๆของรัฐการใช้กฎหมายคือการบริหาร
     วิวัฒนาการด้านธุรกิจ  การจัดการ  เป็นสาขาที่สำคัญ  นอกจากการใช้ “ระเบียบวินัยในการทำงาน”  การบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์


บทที่  3 งานบริหารการศึกษา
       การบริหาร คือ จะต้องมีใครสักคนเข้ามาดำเนินการจัดการกิจกรรมทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ การบริหารการศึกษานั้นไม่ได้แตกต่างจากการบริหารทั่วๆไป กล่าว การบริหารการศึกษาจะไม่แตกกับการบริหารงานทั่วไป  ในวงการเดียวกัน  อาจารย์ใหญ่จะรับผิดชอบต่อผู้บริหารที่สูงขึ้นไป  มีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้ 

1.การผลิต  หมายถึง  กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น  ในทางการศึกษา
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน  หมายถึง  กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
                3.การเงินและการบัญชี  หมายถึง  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
                4.บุคลากร  คือ  การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
                 5.การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา

บทที่  4 กระบวนการทางการบริหารการศึกษา 
          การ บริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน  หรือ การบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา  การบริหารราชการ  และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกัน  และปรัชญาการศึกษา  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี  2 เรื่อง คือ 
       1.การจัดระบบสังคม

     2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา 


บทที่  5 องค์การและการจัดองค์การ

  ความหมายขององค์การเราสามารถจำแนกองค์เป็น  3  ลักษณะคือ

 1.องค์การทางสังคม   
2.องค์การทางราชการ      
3.องค์การเอกชน

แนวคิดในการจัดองค์การ
   1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
   2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง  “ผู้ปฏิบัติงาน
   3.  แนวในการจัดการองค์การ  จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป

องค์ประกอบในการจัดองค์การ
 1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ          
 2.  การแบ่งงานกันทำ
 3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ

ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา
       ระบบราชการ  หมายถึง  ระบบการบริหารที่มีลักษณรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก  มีความอิสระในการปฎิบัติ
งานและเป็นกึ่งทหาร

บทที่ 6 การติดต่อสื่อสาร
      การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อการแลกเปลี่ยน ความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการ ในองค์การอย่างมาก ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว คือ สื่อ ช่องทางที่สื่อ

บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
     ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน

ทที่ 8 การประสานงาน
      การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่งๆร่มมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน 

บทที่ 9 การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
       การตัดสินใจ คือ การบริหาร ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนการกำหนดนโยบาย เป้าหมายในการบริหาร ขั้นการวางแผน ประสานงาน การดำเนินงานจนถึงขั้นลงมือปฏิบัติ ซึ่งทุกระดับจะต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา  ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล ความลำเอียงส่วนบุคคล ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก และการแสวงหาคำแนะนำ 

บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
      ผู้บริหารโรงเรียน  ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ  จะมีหลายด้าน ดังนี้ 
    1.การบริหารงานวิชากา
    2.การบริหารบุคคล 
    3.การบริการธุรการในโรงเรียน 
    4.การบริหารงานนักเรียน 
    5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จัก



กิจกรรมที่ 1

                             ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับกับการบริหารการศึกษา


1.ความหมายการบริหาร
   คือ การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้

2.ความหมายการศึกษา
   คือ การศึกษา คือ การงอกงาม หรือ การจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมแก่ผู้เรียน เพือผู้เรียนจะได้
                               งอกงามขึ้นตามจุดประสงค์

         การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

         การศึกษา คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต

         การศึกษา คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล 

   สรุป คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี ตลอดจน                                 
พัฒนาคุนธรรมต่างๆ

3.ความหมายการบริหารการศึกษา 
   คิอ การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั่งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี