วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน 
แท็บแล็ตเพื่อการศึกษกลายเป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบันในยุคสังคมสารสนเทศและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง  ซึ่งแนวนโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้นที่จะใช้สื่อแท็บแล็ตให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ตามศักยภาพและความพร้อมที่มีอยู่ โดยที่นโยบายของการปฏิบัติของนักเรียนช่วงแรกตามโครงการ One Tablet PC Per  Child จะมุ่งเน้นไปที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวนประมาณ539,466 คน เป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่องที่สำคัญของการนำสื่อแท็บแล็ตสู่การพัฒนาการเรียนรู้ในครั้งนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บแล็ต  
แท็บแล็ต พีซี -คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรกออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง"ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัวMicrosoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บแล็ตพีซี ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) " แท็บแล็ตพีซี ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
แท็บแล็ตคอมพิวเตอร์  หรือเรียกสั้นๆว่าแท็บแล็ต Tablet" คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอ สัมผัสในการทำงาเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ  ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุน หรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น " แท็บแล็ตคอมพิวเตอร์ เครื่องแรก
แหล่งข้อมูลจาก

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไ 
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งได้ลงนามกันที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
เมื่อแรกก่อตั้งในปี 2510 อาเซียนมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในเวลาต่อมา บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527 เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว
AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆดังนี้
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)
การเตรียมตัวเป็นครูเพื่อไปสู่อาเซีย
ครูต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางในการสื่อสารในภูมิภาคอาเซียน ครูจะต้องปลูกฝังและส่งเสริมให้เด็กมีทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนทางบวก และส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน
การเตรียมตัวเป็นนักเรียนเพื่อไปสู่อาเซียน
ความพร้อมเรื่องภาษา  และเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน เข้าใจในศักดิ์ศรีความมีคุณค่า และการเปิดใจยอมรับความแตกต่าง ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะสำคัญในการเตรียมตัวเป็นพลเมืองอาเซียนที่ดีและมีคุณภาพ หากไม่ได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่ตอนนี้ อาจทำให้เกิดปัญหาต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอาเซียนได้


http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=45&id=18905


3. อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
        การที่จะเป็นครูให้เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ปกครอง หรือเพื่อนครูด้วยกันนั้น ครูนั้นจะต้องเป็นคนที่มีความสามารถ  มีความรอบรู้ในด้านศาสตร์นั้น  ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจ  สร้างแรงศรัทธาให้นักเรียนเกิดความรักในการที่จะเรียน สร้างความไว้วางใจต่อนักเรียน ยอมรับฟังในเหตุและผลของนักเรียน เข้าใจและเอาใจใส่  มีความยุติธรรมในทุกๆ ด้าน  และการที่จะทำให้นักเรียนเป็นคนเก่งเป็นที่รักของทุกๆ คน  คนเป็นครูจะต้องสอนให้เด็กนักเรียนรู้จักแสดงออกซึ่งการเป็นผู้นำ  ท้าท้ายให้เด็กได้ใช้ความคิดเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน


4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร พิจารณาว่า  ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้อง
ในการเรียนรู้โดยใช้บล็อกฉันมีวิธีการเรียนรู้โดยการที่ เริ่มแรกศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนก่อน เมื่อเริ่มที่จะรู้ว่าการทำบล็อกทำอย่างไร ก็ลงมือทำและฝึกทำไปเรื่อยๆจนเกิดการเรียนรู้   ถ้าหากจะเรียนรู้โดนใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอการที่จะเรียนรู้ก็จะมากขึ้นเพราะเทคโนโลยียังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และความรู้ที่เราใส่ลงไปในบล็อกก็ยังคงอยู่ เมื่อถึงเวลาที่เราอยากทราบเราก็สามารถกลับมาดูได้อีก  
ความคิดเห็นในการเรียนวิชาบล็อก วิชานี้ผมคิดว่าเป็นวิชาที่มีความทันสมัยเหมาะแก่การพัฒนาคุณภาพของตัวบุคคล เป็นรายวิชาที่นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาไปในทางที่ดี การพัฒนาในการใช้บล็อกในการศึกษาเราควรที่จะส่งเสริมเพื่อให้เป็นแกนสำคัญในการเผ่ยแพร่ความรู้
สำหรับคะแนนที่จะให้กับวิชานี้ข้าพเจ้าคิดว่ารายวิชานี้ที่ใช้บล็อกเป็นตัวกลางที่ให้ความรู้นี้ คะแนนสมควรที่จะได้เต็มทั่งในแง่ความทันสมัย ความประหยัด ลดภาวะลดร้อนโดยไม่ต้องใช้กระดาษในการเรียนเลย
สำหรับเกรดที่ต้องการข้าพเจ้าต้องการเกรด A ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยูกับผลงานที่เราทำลงไปด้วยคับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น